ชื่อแบรนด์

Bio‑Oil®


ชื่อและขนาดของผลิตภัณฑ์

Skincare Oil 25 มล.
Skincare Oil 60 มล.
Skincare Oil 125 มล.
Skincare Oil 200 มล.


ข้อบ่งใช้

รอยแผลเป็น ช่วยแก้ไขสภาพรอยแผลเป็นเก่าและใหม่ รอยแตกลาย ช่วยแก้ไขสภาพรอยแตกลาย นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นของผิว ซึ่งจะช่วยลดโอกาสเกิดรอยแตกลายขึ้น สีผิวไม่สม่ำเสมอ ช่วยแก้ไขสภาพสีผิวไม่สม่ำเสมอ ผิวเสื่อมสภาพ ช่วยแก้ไขสภาพผิวเสื่อมสภาพบนผิวหน้าและผิวกาย ผิวขาดความชุ่มชื้น ช่วยลดการสูญเสียความชุ่มชื้นและแก้ไขสภาพผิวขาดความชุ่มชื้น


รูปลักษณ์ของผลิตภัณฑ์

น้ำมันสีส้ม/สีชมพู


สูตร

ส่วนผสมน้ำมันสูตรพิเศษที่มีวิตามินและสารสกัดจากพืช


ส่วนประกอบสำคัญ

Paraffinum Liquidum, Triisononanoin, Cetearyl Ethylhexanoate, Isopropyl Myristate, Retinyl Palmitate, Helianthus Annuus Seed Oil, Tocopheryl Acetate, Anthemis Nobilis Flower Oil, Lavandula Angustifolia Oil, Rosmarinus Officinalis Leaf Oil, Calendula Officinalis Extract, Glycine Soja Oil, Bisabolol, Tocopherol, Parfum, Alpha-Isomethyl Ionone, Amyl Cinnamal, Benzyl Salicylate, Citronellol, Coumarin, Eugenol, Farnesol, Geraniol, Hydroxycitronellal, Limonene, Linalool, CI 26100.


สารก่อภูมิแพ้

Bio‑Oil® Skincare Oil มีสารก่อภูมิแพ้ 11 ชนิด โดยสารก่อภูมิแพ้เหล่านี้อยู่ในน้ำมันที่สกัดจากพืชและน้ำหอม เช่นเดียวกับสารก่อภูมิแพ้ส่วนใหญ่ ได้แก่: Alpha-Isomethyl Ionone, Amyl Cinnamal, Benzyl Salicylate, Citronellol, Coumarin, Eugenol, Farnesol, Geraniol, Hydroxycitronellal, Limonene และ Linalool


การประเมินด้านความปลอดภัย

Bio‑Oil® Skincare Oil ได้รับการประเมินด้านความปลอดภัยโดยนักพิษวิทยาผู้ทรงคุณวุฒิ และได้รับการจัดให้อยู่ในกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัยสำหรับวัตถุประสงค์การใช้งานในผู้ใหญ่ รวมถึงสตรีมีครรภ์และให้นมบุตร รวมถึงเด็กอายุมากกว่า 3 ปี


การทดลองทางคลินิกเกี่ยวกับรอยแผลเป็น

ศูนย์ทดสอบ สถาบัน โปรเดิร์ม เพื่อการวิจัยทางผิวหนัง เมืองฮัมเบิร์ก ประเทศเยอรมนี วัตถุประสงค์ เพื่อประเมินประสิทธิภาพของ Bio‑Oil® Skincare Oil ในการแก้ไขสภาพรอยแผลเป็น กลุ่มตัวอย่าง อาสาสมัคร: อาสาสมัครหญิง 36 คนที่มีการจำแนกระดับสีผิวแบบ Fitzpatrick แตกต่างกัน อายุของรอยแผลเป็น: เพิ่งเกิดขึ้นใหม่ถึง 3 ปี ตำแหน่งของรอยแผลเป็น: หน้าท้อง ขา แขน คอ เข่า ลำตัว ร่างกายส่วนบน อายุของอาสาสมัคร: 18 - 65 ระเบียบวิธีวิจัย การศึกษาแบบสุ่มและควบคุมด้วยยาหลอก โดยที่ทั้งอาสาสมัครและผู้ประเมินไม่ทราบว่าอาสาสมัครอยู่ในกลุ่มใด (Double-blind) อาสาสมัครมีรอยแผลเป็นที่ใกล้เคียงกันหรือมีรอยแผลเป็นใหญ่พอที่จะทาผลิตภัณฑ์ บนครึ่งหนึ่งของรอยแผลเป็นและเปรียบเทียบภายในอาสาสมัครรายเดียวกันได้ ทาผลิตภัณฑ์วันละ 2 ครั้ง เป็นเวลา 8 สัปดาห์ และไม่นวดเพิ่มเติมบริเวณที่ทดลอง การทาผลิตภัณฑ์ดำเนินการภายใต้การกำกับดูแล โดยมีการเว้นระยะเวลาสม่ำเสมอ การประเมินผลดำเนินการในสัปดาห์ที่ 0, 2, 4 และ 8 ประเมินพารามิเตอร์ของรอยแผลเป็นต่าง ๆ ตามที่กำหนดไว้ในแบบประเมินรอยแผลเป็นโดยอาสาสมัครและผู้สังเกต (POSAS) ผลลัพธ์ Bio‑Oil® Skincare Oil มีประสิทธิภาพในการแก้ไขสภาพรอยแผลเป็น ได้ผลลัพธ์ที่มีนัยสำคัญทางสถิติหลังจากผ่านไปเพียง 2 สัปดาห์ (วันที่ 15) โดยเห็นผลชัดเจนใน 66% ของอาสาสมัคร หลังจากผ่านไป 8 สัปดาห์ (วันที่ 57) 92% ของอาสาสมัครแสดงให้เห็นถึงการปรับปรุง โดยเห็นผลการปรับปรุงมากกว่าในสัปดาห์ที่ 2 ถึงเกือบสามเท่า การปรับปรุงอย่างต่อเนื่องของ POSAS ตลอดระยะเวลาของการศึกษา


การศึกษารอยแผลเป็นจากสิว

ศูนย์ทดสอบ แผนกผิวหนัง โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยปักกิ่ง กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน วัตถุประสงค์ เป็นการศึกษาเพื่อประเมินประสิทธิภาพของ Bio‑Oil® Skincare Oil ในการแก้ไขสภาพรอยแผลเป็นจากสิวบนผิวหน้าในอาสาสมัครชาวจีน กลุ่มตัวอย่าง อาสาสมัคร: อาสาสมัครชาวจีน 44 คน ที่มีรอยแผลเป็นจากสิวที่เพิ่งเกิดขึ้นใหม่บริเวณใบหน้า (ไม่เกิน 1 ปี) กลุ่มที่รักษาด้วย Bio‑Oil® Skincare Oil ประกอบด้วยอาสาสมัคร 32 คน และกลุ่มที่ไม่ได้รักษาประกอบด้วยอาสาสมัคร 12 คน อายุของอาสาสมัคร: 14 - 30 ระเบียบวิธีวิจัย การศึกษาประสิทธิภาพแบบสุ่มโดยมีการควบคุมและการปกปิดผู้ให้คะแนน อาสาสมัครเข้าร่วมในการประเมินผลเพื่อคัดกรองเบื้องต้น และตามด้วยระยะพัก 1 สัปดาห์ ทาผลิตภัณฑ์วันละ 2 ครั้งเป็นเวลา 10 สัปดาห์ การทาผลิตภัณฑ์ดำเนินการภายใต้การกำกับดูแล โดยมีการเว้นระยะเวลาสม่ำเสมอ การประเมินผลดำเนินการในสัปดาห์ที่ 0, 4, 8 และ 10 ซึ่งประกอบด้วย: แบบประเมินปริมาณรอยแผลเป็น (GSS) โดยผู้วิจัย การวัดสีของรอยแผลเป็นจากสิว/รอยแดงจากการใช้เครื่อง Chromameter การวัดระดับไขมันโดยเครื่อง Sebumeter การบันทึกจำนวนคอมิโดนและแผลอักเสบโดยแพทย์ผิวหนัง นอกจากนี้ อาสาสมัครยังทำแบบสอบถามการประเมินโดยผู้ใช้เองในการตรวจเยี่ยมแต่ละครั้ง ผลลัพธ์ ผลลัพธ์ที่ดีที่สุดจากการจัดลำดับทางคลินิก คือ Bio‑Oil® Skincare Oil สามารถลดการเกิดลักษณะผิวหนังแดงหรือรอยแดงของรอยแผลเป็นจากสิว (ชนิดเรียบ) โดยทำให้ผิวสว่างขึ้นในภาพรวม ผลการประเมินโดยผู้ใช้เองพบว่ามากกว่า 84% ของอาสาสมัครสัมผัสได้ถึงการปรับปรุงสภาพโดยรวมของรอยแผลเป็นจากสิว และมากกว่า 90% สัมผัสได้ถึงการปรับปรุงของสีรอยแผลเป็นจากสิว ผลการตรวจวัดสิวและการวัดไขมันแสดงให้เห็นว่าการใช้ Bio‑Oil® Skincare Oil ไม่ก่อให้เกิดสิวหรือเพิ่มการผลิตไขมัน


การทดลองทางคลินิกด้านรอยแตกลาย

ศูนย์ทดสอบ สถาบัน โปรเดิร์ม เพื่อการวิจัยทางผิวหนัง เมืองฮัมเบิร์ก ประเทศเยอรมนี วัตถุประสงค์ เพื่อประเมินประสิทธิภาพของ Bio‑Oil® Skincare Oil ในการแก้ไขสภาพรอยแตกลาย กลุ่มตัวอย่าง อาสาสมัคร: อาสาสมัครหญิง 38 คนที่มีการจำแนกระดับสีผิวแบบ Fitzpatrick แตกต่างกัน สาเหตุของรอยแตกลาย: มีหลายสาเหตุ (เกิดขึ้นหลังตั้งครรภ์ น้ำหนักเพิ่มขึ้น หรือช่วงเปลี่ยนจากวัยรุ่นเป็นวัยผู้ใหญ่) ตำแหน่งรอยแตกลาย: หน้าท้อง ต้นขา และสะโพก อายุของอาสาสมัคร: 18 - 65 ระเบียบวิธีวิจัย การศึกษาแบบสุ่มและควบคุมด้วยยาหลอก โดยที่ทั้งอาสาสมัครและผู้ประเมินไม่ทราบว่าอาสาสมัครอยู่ในกลุ่มใด (Double-blind) อาสาสมัครมีรอยแตกลายที่ใกล้เคียงกันหรือมีรอยแตกลายใหญ่พอที่จะทาผลิตภัณฑ์บนครึ่งหนึ่งของรอยแตกลายและเปรียบเทียบภายในอาสาสมัครรายเดียวกันได้ มีการทาผลิตภัณฑ์วันละ 2 ครั้ง เป็นเวลา 8 สัปดาห์ และไม่นวดเพิ่มเติมบริเวณที่ทดลอง การทาผลิตภัณฑ์ดำเนินการภายใต้การกำกับดูแล โดยมีการเว้นระยะเวลาสม่ำเสมอ การประเมินผลดำเนินการในสัปดาห์ที่ 0, 2, 4 และ 8 ประเมินพารามิเตอร์ของรอยแผลเป็นต่าง ๆ ตามที่กำหนดไว้ในแบบประเมินรอยแผลเป็นโดยอาสาสมัครและผู้สังเกต (POSAS) ผลลัพธ์ Bio‑Oil® Skincare Oil มีประสิทธิภาพในการแก้ไขสภาพรอยแตกลาย ได้ผลลัพธ์ที่มีนัยสำคัญทางสถิติหลังจากผ่านไปเพียง 2 สัปดาห์ (วันที่ 15) โดยเห็นผลชัดเจนใน 95% ของอาสาสมัคร หลังจากผ่านไป 8 สัปดาห์ (วันที่ 57) 100% ของอาสาสมัครแสดงให้เห็นถึงการปรับปรุง โดยเห็นผลการปรับปรุงมากกว่าในสัปดาห์ที่ 2 ถึงสองเท่า การปรับปรุงอย่างต่อเนื่องของ POSAS ตลอดระยะเวลาของการศึกษา


การทดลองทางคลินิกด้านสีผิวไม่สม่ำเสมอ

ศูนย์ทดสอบ โทมัส เจ สตีเฟ่น แอนด์ แอสโซซิเอท อิงค์ รัฐเท็กซัส ประเทศสหรัฐอเมริกา วัตถุประสงค์ เพื่อประเมินประสิทธิภาพของ Bio‑Oil® Skincare Oil ในการแก้ไขสภาพสีผิวไม่สม่ำเสมอและสีผิวลาย เมื่อใช้ในผู้หญิงที่มีปัญหาผิวเสื่อมสภาพจากการถูกแสงแดด (ผิวเสื่อมสภาพ) ในระดับน้อยถึงปานกลางบริเวณผิวหน้าและลำคอ กลุ่มตัวอย่าง อาสาสมัคร: อาสาสมัครหญิง 67 คนที่มีการจำแนกระดับสีผิวแบบ Fitzpatrick แตกต่างกัน ที่ระบุทางคลินิกว่ามีผิวเสื่อมจากการถูกแสงแดดเล็กน้อยถึงปานกลางบริเวณผิวหน้าและลําคอ กลุ่มที่รักษาด้วย Bio‑Oil® Skincare Oil ประกอบด้วยอาสาสมัคร 35 คน และกลุ่มที่ไม่ได้รักษาประกอบด้วยอาสาสมัคร 32 คน อายุของอาสาสมัคร: 30 - 70 ระเบียบวิธีวิจัย การศึกษาประสิทธิภาพแบบสุ่มโดยมีการควบคุมและการปกปิดผู้ให้คะแนน อาสาสมัครเข้าร่วมในการประเมินผลเพื่อคัดกรองเบื้องต้น และตามด้วยระยะพัก 1 สัปดาห์ ทาผลิตภัณฑ์ที่ผิวหน้าและลําคอวันละ 2 ครั้งเป็นเวลา 12 สัปดาห์ การทาผลิตภัณฑ์อยู่ภายใต้การกำกับดูแลในการตรวจเยี่ยมเบื้องต้น การประเมินผลทางคลินิกดําเนินการในสัปดาห์ที่ 0, 2, 4, 8 และ 12 อาสาสมัครได้รับการประเมินผลทางคลินิกด้านสีผิวไม่สม่ำเสมอและสีผิวลายบริเวณผิวหน้าและลําคอแบบแยกกัน ผลลัพธ์ Bio‑Oil® Skincare Oil มีประสิทธิภาพในการแก้ไขสภาพสีผิวไม่สม่ำเสมอและสีผิวลายในผิวเสื่อมสภาพจากการถูกแสงแดด (ผิวเสื่อมสภาพ) หลังจากสัปดาห์ที่ 4 มีการบรรลุผลลัพธ์ที่มีนัยสําคัญทางสถิติของพารามิเตอร์ทั้งสองประการบริเวณผิวหน้าและลําคอ หลังจากผ่านไป 12 สัปดาห์ 86% ของอาสาสมัครในกลุ่มที่รักษาด้วย Bio‑Oil® Skincare Oil แสดงให้เห็นถึงการปรับปรุงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของสีผิวไม่สม่ำเสมอบริเวณใบหน้า ซึ่งรวมไปถึง 71% ของอาสาสมัครที่มีสีผิวลายบริเวณใบหน้า 69% ที่มีสีผิวที่ไม่สม่ำเสมอบริเวณลำคอ และ 60% ที่มีสีผิวลายที่ลำคอ


การทดลองทางคลินิกด้านผิวเสื่อมสภาพ

ศูนย์ทดสอบ โทมัส เจ สตีเฟ่น แอนด์ แอสโซซิเอท อิงค์ รัฐเท็กซัส ประเทศสหรัฐอเมริกา การศึกษาที่ 1: ผิวหน้าและลําคอ วัตถุประสงค์ เพื่อประเมินประสิทธิภาพของ Bio‑Oil® Skincare Oil เมื่อใช้ในผู้หญิงที่มีปัญหาผิวเสื่อมสภาพจากการถูกแสงแดด (ผิวเสื่อมสภาพ) ในระดับน้อยถึงปานกลางบริเวณผิวหน้าและลำคอ กลุ่มตัวอย่าง อาสาสมัคร: อาสาสมัครหญิง 67 คนที่มีการจำแนกระดับสีผิวแบบ Fitzpatrick แตกต่างกัน ที่ระบุทางคลินิกว่ามีผิวเสื่อมจากการถูกแสงแดดเล็กน้อยถึงปานกลางบริเวณผิวหน้าและลําคอ กลุ่มที่รักษาด้วย Bio‑Oil® Skincare Oil ประกอบด้วยอาสาสมัคร 35 คน และกลุ่มที่ไม่ได้รักษาประกอบด้วยอาสาสมัคร 32 คน อายุของอาสาสมัคร: 30 - 70 ระเบียบวิธีวิจัย การศึกษาประสิทธิภาพแบบสุ่มโดยมีการควบคุมและการปกปิดผู้ให้คะแนน อาสาสมัครเข้าร่วมในการประเมินผลเพื่อคัดกรองเบื้องต้น และตามด้วยระยะพัก 1 สัปดาห์ ทาผลิตภัณฑ์ที่ผิวหน้าและลําคอวันละ 2 ครั้งเป็นเวลา 12 สัปดาห์ การทาผลิตภัณฑ์อยู่ภายใต้การกำกับดูแลในการตรวจเยี่ยมเบื้องต้น การประเมินผลทางคลินิกดําเนินการในสัปดาห์ที่ 0, 2, 4, 8 และ 12 อาสาสมัครได้รับการประเมินผลทางคลินิกแบบแยกกันในด้านผิวหน้าและลําคอสําหรับพารามิเตอร์ประสิทธิภาพดังต่อไปนี้: สภาพโดยรวม ริ้วรอย ตีนกา สีผิวลาย สีผิวไม่สม่ำเสมอ ความหยาบกระด้าง/เรียบเนียนที่มองเห็นได้ สัมผัสที่หยาบกระด้าง/เรียบเนียน สภาพความกระชับ และความกระจ่างใส (ความหมองคล้ำ) ผลลัพธ์ Bio‑Oil® Skincare Oil มีประสิทธิภาพในการแก้ไขสภาพผิวเสื่อมจากการถูกแสงแดด (ผิวเสื่อมสภาพ) โดยรวมบริเวณผิวหน้าและลําคอ หลังจากสัปดาห์ที่ 8 มีการบรรลุผลลัพธ์ที่มีนัยสําคัญทางสถิติของพารามิเตอร์ประสิทธิภาพทั้งหมดที่ได้รับการประเมินผลทางคลินิก หลังจากสัปดาห์ที่ 12 มี 94% ของอาสาสมัครในกลุ่มที่รักษาด้วย Bio‑Oil® Skincare Oil ที่มีการแก้ไขสภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในสภาพโดยรวมบริเวณผิวหน้า และมี 80% ของอาสาสมัครที่มีการแก้ไขสภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในสภาพโดยรวมบริเวณลำคอ การศึกษาที่ 2: ผิวกาย วัตถุประสงค์ เพื่อประเมินประสิทธิภาพของ Bio‑Oil® Skincare Oil เมื่อใช้ทาผิวบริเวณลำตัวช่วงบน ขาท่อนล่าง และแขน โดยผู้หญิงที่มีปัญหาผิวเสื่อมสภาพ ในระดับน้อยถึงปานกลาง จากการถูกแสงแดด กลุ่มตัวอย่าง อาสาสมัคร: อาสาสมัครหญิง 67 คนที่มีการจำแนกระดับสีผิวแบบ Fitzpatrick แตกต่างกัน ที่ระบุทางคลินิกว่ามีผิวเสื่อมจากการถูกแสงแดดเล็กน้อยถึงปานกลางบริเวณผิวหน้าและลําคอ กลุ่มที่รักษาด้วย Bio‑Oil® Skincare Oil ประกอบด้วยอาสาสมัคร 35 คน และกลุ่มที่ไม่ได้รักษาประกอบด้วยอาสาสมัคร 32 คน อายุของอาสาสมัคร: 30 - 70 ระเบียบวิธีวิจัย การศึกษาประสิทธิภาพแบบสุ่มโดยมีการควบคุมและการปกปิดผู้ให้คะแนน อาสาสมัครเข้าร่วมในการประเมินผลเพื่อคัดกรองเบื้องต้น และตามด้วยระยะพัก 1 สัปดาห์ ทาผลิตภัณฑ์ที่ผิวบริเวณลำตัวช่วงบน ขาท่อนล่าง และแขน วันละ 2 ครั้งเป็นเวลา 12 สัปดาห์ การทาผลิตภัณฑ์อยู่ภายใต้การกำกับดูแลในการตรวจเยี่ยมเบื้องต้น การประเมินผลทางคลินิกดําเนินการในสัปดาห์ที่ 0, 2, 4, 8 และ 12 อาสาสมัครได้รับการประเมินผลทางคลินิกด้านผิวบริเวณลำตัวช่วงบน ขาท่อนล่าง และแขน สําหรับพารามิเตอร์ประสิทธิภาพต่อไปนี้: สภาพโดยรวม สภาพผิวเหี่ยวย่น ความแห้งกร้าน/ผิวเป็นขุย ความหยาบกระด้าง/เรียบเนียนที่มองเห็นได้ สัมผัสที่หยาบกระด้าง/เรียบเนียน ผลลัพธ์ Bio‑Oil® Skincare Oil มีประสิทธิภาพในการแก้ไขสภาพผิวเสื่อมจากการถูกแสงแดด (ผิวเสื่อมสภาพ) โดยรวมบนผิวกาย หลังจากสัปดาห์ที่ 4 มีการบรรลุผลลัพธ์ที่มีนัยสําคัญทางสถิติของพารามิเตอร์ประสิทธิภาพทั้งหมดที่ได้รับการประเมินผลทางคลินิก หลังจากสัปดาห์ที่ 12 มี 89% ของอาสาสมัครในกลุ่มที่รักษาด้วย Bio‑Oil® Skincare Oil ที่มีการแก้ไขสภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในสภาพโดยรวมของผิวบริเวณลำตัวช่วงบน ขาท่อนล่าง และแขน


การทดลองทางคลินิกด้านผิวขาดความชุ่มชื้น

ศูนย์ทดสอบ ห้องปฏิบัติการทางชีววิทยา แห่งมหาวิทยาลัยแพทย์ศาสตร์แห่งประเทศแอฟริกาใต้ การศึกษาที่ 1: การให้ความชุ่มชื้นและหน้าที่ในการปกป้องของผิวชั้นหนังกำพร้า วัตถุประสงค์ เพื่อประเมินผลของการทา Bio‑Oil® Skincare Oil เพียงครั้งเดียว ในการช่วยปรับปรุงการให้ความชุ่มชื้นและหน้าที่ในการปกป้องของผิวชั้นหนังกำพร้า (SC) กลุ่มตัวอย่าง อาสาสมัคร: อาสาสมัครหญิง 40 คนที่มีการจำแนกระดับสีผิวแบบ Fitzpatrick แตกต่างกัน สถานที่ทดสอบ: ทาผลิตภัณฑ์ทดสอบที่ท้องแขนท่อนปลายของอาสาสมัครทุกคน ระเบียบวิธีวิจัย การประเมินความชุ่มชื้นของผิวด้วยเครื่อง Corneometer เป็นมาตรการหลัก และการประเมินหน้าที่ในการปกป้องด้วยเครื่อง Vapometer เป็นมาตรการรอง อาสาสมัครล้างท้องแขนด้วยสบู่ 2 ชั่วโมงก่อนทําการวัดเพื่อกระตุ้นให้ผิวแห้งกร้าน มีการตรวจวัดโดยใช้อุปกรณ์เบื้องต้น Bio‑Oil® Skincare Oil และน้ำมันอ้างอิงจะนำไปทาที่คนละบริเวณของท้องแขนท่อนปลายของอาสาสมัครทุกคน ทำการตรวจวัดอีกครั้งทันทีหลังจากทาผลิตภัณฑ์ รวมถึงในอีก 2 ชั่วโมงถัดมา ก่อนและหลังเช็ดผลิตภัณฑ์ออก นอกจากนี้ยังทำการตรวจวัดบริเวณควบคุมที่ไม่ได้รักษาทุกช่วงเวลาด้วย ผลลัพธ์ หลังจากทาทันที น้ำมันทั้งสองชนิดลดการสูญเสียน้ำผ่านชั้นผิวหนัง (TEWL) เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้รักษา ค่าความจุผิวที่เพิ่มขึ้นที่ 2 ชั่วโมงก่อนเช็ด แสดงให้เห็นว่าน้ำมันทั้งสองชนิดทำให้ความชุ่มชื้นของผิวเพิ่มขึ้น สองชั่วโมงต่อมา หลังจากเช็ดน้ำมันออกจากผิว Bio‑Oil® Skincare Oil มีค่า TEWL เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับน้ำมันอ้างอิง ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการปลดปล่อยความชุ่มชื้นที่เพิ่มขึ้นและเพิ่มความชุ่มชื้นของผิว การศึกษาที่ 2: สภาพผิวแห้ง วัตถุประสงค์ เพื่อประเมินผลของการทา Bio‑Oil® Skincare Oil วันละ 2 ครั้ง ในการเพิ่มความชุ่มชื้นและลดภาวะผิวแห้ง กลุ่มตัวอย่าง อาสาสมัคร: อาสาสมัครหญิงผิวขาว 25 คน สถานที่ทดสอบ: ทาผลิตภัณฑ์ทดสอบที่กับขาส่วนล่างด้านนอกของอาสาสมัครทุกคน ระเบียบวิธีวิจัย สบู่นำมาใช้เพื่อกระตุ้นให้ผิวแห้งในช่วง 7 วัน ทา Bio‑Oil® Skincare Oil และน้ำมันอ้างอิงวันละ 2 ครั้ง ทำการประเมินผิวในวันที่ 1 และ 3 ผู้ประเมินด้วยสายตาที่ผ่านการฝึกอบรมดำเนินการประเมินผลด้วยสายตาโดยใช้หลอดไฟขยาย 2 เท่า นอกจากนี้ยังทำการประเมินบริเวณควบคุมที่ไม่ได้รักษาทุกช่วงเวลาด้วย ผลลัพธ์ ทั้ง Bio‑Oil® Skincare Oil และน้ำมันอ้างอิงช่วยแก้ไขความแห้งกร้านของผิว เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้รักษา Bio‑Oil® Skincare Oil มีสถิติที่เหนือกว่าในวันที่ 3 การที่ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญของสภาพที่มองเห็นได้บริเวณผิวที่รักษาด้วย Bio‑Oil® Skincare Oil ช่วยยืนยันถึงประสิทธิภาพในการบรรเทาผิวแห้ง


การทดสอบด้านผิวแพ้ง่าย

ศูนย์ทดสอบ คอมพ์ไลฟ์ อิตาเลีย เอส.อาร์.แอล. ประเทศอิตาลี วัตถุประสงค์ เพื่อประเมินโอกาสที่ Bio‑Oil® Skincare Oil จะก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนัง กลุ่มตัวอย่าง อาสาสมัคร: อาสาสมัคร 25 คน ประกอบด้วยผู้ชาย 19 คนและผู้หญิง 6 คน โดยทั้งหมดมีผิวแพ้ง่ายตามการทดสอบการแพ้กรดแลคติก อายุของอาสาสมัคร: 18 - 65 ระเบียบวิธีวิจัย การศึกษาแบบสุ่มและมีการควบคุม มีการประเมินสองบริเวณ: บริเวณที่ทากลุ่มควบคุมแบบลบ (น้ำบริสุทธิ์) และบริเวณที่ทา Bio‑Oil® Skincare Oil ทาผลิตภัณฑ์ทดสอบที่หลังมือของอาสาสมัครเป็นระยะเวลา 48 ชั่วโมงโดยใช้แผ่นหลุมอะลูมิเนียม (Finn Chamber®) ปฏิกิริยาของผิวหนังได้รับการประเมินภายใต้การดูแลของแพทย์ผิวหนังเพื่อประเมินการระคายเคืองของผิวหนังเบื้องต้นที่ 15 นาที 1 ชั่วโมง และ 24 ชั่วโมงหลังจากดึงแผ่นแปะออก ปฏิกิริยาของผิวหนังได้รับการประเมินโดยใช้ระดับคะแนนตั้งแต่ 0 - 4 (โดยที่ 0 หมายถึง ไม่มีลักษณะผิวหนังแดง บวมน้ำ หรือการระคายเคืองของผิวหนังประเภทอื่น ๆ และ 4 หมายถึง มีลักษณะผิวหนังแดงและบวมน้ำอย่างรุนแรง ซึ่งบ่งบอกถึงสภาพสีแดงเข้มและการบวมที่ขยายออกนอกบริเวณที่ทา) ผลลัพธ์ อาสาสมัครไม่ประสบอาการไม่พึงประสงค์ใด ๆ ต่อผลิตภัณฑ์ทดสอบ โดยมีผลคะแนนจากการประเมินด้วยสายตาในอาสาสมัครทุกคนเป็น 0 (ศูนย์) ในทุกช่วงเวลา Bio‑Oil® Skincare Oil มีความทนของผิวจัดอยู่ในระดับ “ไม่ระคายเคือง”


การทดสอบด้านการไม่ก่อให้เกิดการอุดตัน

ศูนย์ทดสอบ คอมพ์ไลฟ์ อิตาเลีย เอส.อาร์.แอล. ประเทศอิตาลี วัตถุประสงค์ เพื่อทดสอบว่า Bio‑Oil® Skincare Oil มีแนวโน้มที่จะทําให้เกิดสิวและคอมิโดน (ตุ่มสิว) หรือไม่ กลุ่มตัวอย่าง อาสาสมัคร: อาสาสมัคร 20 คน ประกอบด้วยผู้หญิง 14 คนและผู้ชาย 6 คนที่มีการจำแนกระดับสีผิวแบบ Fitzpatrick หลากหลายแบบที่มีผิวเป็นสิวง่าย อายุของอาสาสมัคร: 18 - 65 ระเบียบวิธีวิจัย การศึกษาแบบสุ่มและมีการควบคุม ทาผลิตภัณฑ์บนแผ่นกระดาษกรองแล้วติดที่บริเวณหลังส่วนบนของอาสาสมัคร ติดแผ่นแปะไว้เป็นเวลา 48 ถึง 72 ชั่วโมง จากนั้นดึงออกและติดแผ่นใหม่ มีการใช้แผ่นแปะทั้งหมด 12 แผ่นเป็นเวลา 4 สัปดาห์ติดต่อกัน ทั้งสามบริเวณได้รับการประเมินโดยการเปรียบเทียบกลุ่มควบคุมแบบลบ (น้ำบริสุทธิ์) ผลิตภัณฑ์ทดสอบ (Bio‑Oil® Skincare Oil) และกลุ่มควบคุมแบบบวก (ลาโนลินแอลกอฮอล์ ผลิตภัณฑ์ที่ก่อให้เกิดการอุดตันที่เป็นที่รู้จัก) ปฏิกิริยาของผิวหนังได้รับการประเมินทางคลินิกภายใต้การดูแลของแพทย์ผิวหนัง 15 นาทีหลังจากการดึงแผ่นแปะแต่ละแผ่นออก เพื่อเปรียบเทียบการมีอยู่ของคอมิโดนก่อนและหลังการทาผลิตภัณฑ์แต่ละครั้ง ผลลัพธ์ พบว่า Bio‑Oil® Skincare Oil ไม่ก่อให้เกิดการอุดตัน บริเวณที่ทา Bio‑Oil® Skincare Oil ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญต่อบริเวณกลุ่มควบคุมแบบลบ กลุ่มควบคุมแบบบวกกระตุ้นให้เกิดสิว


การศึกษาด้านการซึมซาบ

ศูนย์ทดสอบ สถาบัน โปรเดิร์ม เพื่อการวิจัยทางผิวหนัง เมืองฮัมเบิร์ก ประเทศเยอรมนี การศึกษาที่ 1: ผู้ให้คะแนนที่ผ่านการฝึกอบรม วัตถุประสงค์ เพื่อประเมินอัตราการซึมซาบของ Bio‑Oil® Skincare Oil หลังการทาแบบมาตรฐานและการถูให้ซึมเข้าสู่ผิว กลุ่มตัวอย่าง อาสาสมัคร: ผู้ให้คะแนนที่ผ่านการฝึกอบรม 22 คน ประกอบด้วยผู้หญิง 21 คน และผู้ชาย 1 คน สถานที่ทดสอบ: ทาผลิตภัณฑ์ทดสอบที่ท้องแขนท่อนปลายของผู้ให้คะแนนทุกคน ระเบียบวิธีวิจัย การศึกษาแบบสุ่มและมีการควบคุม โดยที่ทั้งอาสาสมัครและผู้ประเมินไม่ทราบว่าอาสาสมัครอยู่ในกลุ่มใด (Double-blind) ทา Bio‑Oil® Skincare Oil และน้ำมันอ้างอิงที่บริเวณทดสอบที่กำหนดไว้ที่ท้องแขนท่อนปลายของผู้ให้คะแนน ผู้ให้คะแนนทำการเคลื่อนไหวเป็นวงกลม 100 ครั้งด้วยความเร็วที่กำหนด จากนั้นผู้ให้คะแนนให้คะแนนการซึมซาบของผลิตภัณฑ์โดยใช้ระดับคะแนน 5 คะแนน ตั้งแต่ “ซึมซาบช้ามาก” ถึง “ซึมซาบเร็วมาก” ทำการวัดด้วยเครื่อง Sebumeter ที่สองช่วงเวลา คือ ก่อนการทาและ 2 นาทีหลังจากทาผลิตภัณฑ์ เพื่อประเมินปริมาณน้ำมันบนผิว ผลลัพธ์ การซึมซาบของ Bio‑Oil® Skincare Oil สู่ผิวได้รับการประเมินว่า “เร็วมาก” หรือ “เร็ว” โดยผู้ให้คะแนนที่ผ่านการฝึกอบรมส่วนใหญ่ (77.3%) ซึ่งผลดังกล่าวได้รับการยืนยันโดยการตรวจวัดด้วยเครื่อง Sebumeter โดยค่าที่ได้ที่ช่วงเวลาที่ 2 แสดงให้เห็นว่ามีปริมาณ Bio‑Oil® Skincare Oil เหลืออยู่บนผิวน้อยกว่าอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อเทียบกับน้ำมันเปรียบเทียบ การศึกษาที่ 2: การศึกษามุ่งเน้นที่ผู้บริโภค วัตถุประสงค์ เพื่อประเมินอัตราการซึมซาบของ Bio‑Oil® Skincare Oil หลังการทาแบบมาตรฐานและการถูให้ซึมเข้าสู่ผิว กลุ่มตัวอย่าง อาสาสมัคร: อาสาสมัคร 100 คน ประกอบด้วยผู้หญิง 97 คนและผู้ชาย 3 คน สถานที่ทดสอบ: ทาผลิตภัณฑ์ทดสอบที่ท้องแขนท่อนปลายของอาสาสมัครทุกคน ระเบียบวิธีวิจัย การศึกษาแบบสุ่มและมีการควบคุม โดยที่ทั้งอาสาสมัครและผู้ประเมินไม่ทราบว่าอาสาสมัครอยู่ในกลุ่มใด (Double-blind) ทา Bio‑Oil® Skincare Oil และน้ำมันอ้างอิงที่บริเวณทดสอบที่กำหนดไว้ที่ท้องแขนท่อนปลายของอาสาสมัคร อาสาสมัครถูผลิตภัณฑ์ทดสอบให้ซึมเข้าสู่ผิวชนิดละหนึ่งนาที จากนั้นอาสาสมัครให้คะแนนการดูดซึมของผลิตภัณฑ์โดยใช้ระดับคะแนน 5 คะแนน ตั้งแต่ “ดูดซึมช้ามาก” ถึง “ดูดซึมเร็วมาก” ผลลัพธ์ การซึมซาบของ Bio‑Oil® Skincare Oil สู่ผิวได้รับการประเมินว่า “เร็วมาก” หรือ “เร็ว” โดยอาสาสมัครส่วนใหญ่ (72%)


การศึกษาด้านการเคลือบผิว

ศูนย์ทดสอบ การทดสอบโดยศาสตราจารย์ นายแพทย์ เจ ไวเชอร์ ที่ ริกาโน แลบบอราทอรี่ เมืองมิลาน ประเทศอิตาลี วัตถุประสงค์ เพื่อประเมินว่า Bio‑Oil® Skincare Oil มีระดับการเคลือบผิวใกล้เคียงกับไขหุ้มทารก (Vernix caseosa) หรือไม่ ไขหุ้มทารก (Vernix caseosa) ได้รับพิจารณาอย่างกว้างขวางโดยนักวิทยาศาสตร์เครื่องสำอางว่าเป็น “มาตรฐานทองคำ” ในการทำให้ผิวชุ่มชื้นเนื่องจากมีระดับการเคลือบผิวที่เหมาะสม ระเบียบวิธีวิจัย ใส่น้ำตามปริมาณที่กำหนดไว้ลงไปในบีกเกอร์ที่ห่อหุ้มด้วยเยื่อเลือกผ่านที่เรียกว่า Vitro-Skin ซึ่งเลียนแบบคุณสมบัติพื้นผิวของผิวหนังของมนุษย์ ทาไขหุ้มทารก (Vernix caseosa) และ Bio‑Oil® Skincare Oil ในปริมาณที่เท่ากันที่เยื่อดังกล่าว และทำการวัดอัตราการสูญเสียน้ำของบีกเกอร์เมื่อเวลาผ่านไป การทดสอบนี้นำไปเปรียบเทียบกับอัตราการสูญเสียน้ำโดยไม่มีผลิตภัณฑ์ใด ๆ อยู่ที่เยื่อ อัตราการถ่ายโอนไอน้ำสําหรับแต่ละผลิตภัณฑ์ได้รับการคํานวณและแสดงเป็น g/m²/h ผลลัพธ์ Bio‑Oil® Skincare Oil แสดงให้เห็นว่ามีระดับการเคลือบผิวใกล้เคียงกับไขหุ้มทารก (Vernix caseosa) โดยได้คะแนน 23.5 เมื่อเทียบกับไขหุ้มทารก (Vernix caseosa) ที่ได้คะแนน 27.2


การทา

วิธีการทา ควรนวด Bio‑Oil® Skincare Oil เป็นวงกลมบนผิวหน้าหรือผิวกายจนกว่าจะซึมจนหมด ขอแนะนำให้ทาผลิตภัณฑ์วันละสองครั้งเป็นเวลาอย่างน้อยสามเดือน ไม่ควรทา Bio‑Oil® Skincare Oil ในจุดที่เป็นบาดแผลเปิดหรือผิวที่บาดเจ็บ ผลิตภัณฑ์นี้เป็นเครื่องสำอางใช้ทาเฉพาะที่เท่านั้น สามารถทาบนรอยแผลเป็นได้อย่างปลอดภัยทันทีที่ผิวหนังหายสนิท ผลลัพธ์จะแตกต่างออกไปตามบุคคล ระยะเวลาในการใช้งาน การทดลองทางคลินิกหลายการทดลองของ Bio‑Oil® Skincare Oil ได้ดําเนินการตลอดช่วง 8 สัปดาห์และ 12 สัปดาห์ ทําให้สามารถประเมินประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ได้ตลอดช่วงเวลา การวิเคราะห์ทางสถิติแสดงให้เห็นถึงการแก้ไขสภาพผิวอย่างมีนัยสําคัญหลังจากผ่านไปเพียง 2 สัปดาห์ และการแก้ไขสภาพนี้จะคงอยู่หรือเพิ่มขึ้นตลอดระยะเวลาการทดลอง ใช้ควบคู่กับกิจวัตรการดูแลผิว เพื่อการดูดซึมสูงสุด ควรทา Bio‑Oil® Skincare Oil กับผิวที่ล้างสะอาดแล้ว การผสม Bio‑Oil® Skincare Oil กับผลิตภัณฑ์อื่นเพื่อ “ให้ใช้งานได้นานขึ้น” อาจทำให้มีประสิทธิภาพน้อยลง หากต้องการทามอยส์เจอไรเซอร์ โลชั่นกันแดด หรือครีมทาผิวหน้าอื่น ๆ ควรทำเช่นนั้นก็ต่อเมื่อ Bio‑Oil® Skincare Oil ดูดซึมเข้าสู่ผิวจนหมดแล้ว สําหรับการทาผิวกายทั่วตัว ให้ทา Bio‑Oil® Skincare Oil หลังอาบน้ำ การใช้ในระหว่างตั้งครรภ์ รอยแตกลายจากการตั้งครรภ์อาจปรากฏขึ้นได้ทุกที่บนผิวกาย แต่ส่วนใหญ่มักจะปรากฏบนหน้าท้อง ต้นขา สะโพก หลังส่วนล่าง ก้น และหน้าอก เพื่อช่วยป้องกันการก่อตัวของรอยแตกลายจากการตั้งครรภ์ ขอแนะนําให้ทา Bio‑Oil® Skincare Oil ในบริเวณเหล่านี้วันละสองครั้ง ตั้งแต่ไตรมาสแรกจนถึงหลังคลอด การทา Bio‑Oil® Skincare Oil เป็นประจำจะช่วยบรรเทาอาการคันและผิวขาดความชุ่มชื้น ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับอาการคันตามผิวหนังขณะตั้งครรภ์ นอกจากนี้ยังสามารถใช้เพื่อแก้ไขสภาพสีผิวไม่สม่ำเสมอ ซึ่งเป็นผลมาจากความแปรปรวนของฮอร์โมนที่เกิดขึ้นในระหว่างตั้งครรภ์ วิตามินเอและการตั้งครรภ์ ผู้หญิงมักได้รับคำแนะนำให้จำกัดผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีวิตามินเอในระหว่างตั้งครรภ์ ดังนั้นจึงอาจมีความกังวลเกี่ยวกับการใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวที่มีวิตามินเอ โดยสารใด ๆ ที่นำมาทาที่ผิวจะเป็นอันตรายก็ต่อเมื่ออยู่ในระดับที่สูงกว่าเกณฑ์ทางพิษวิทยา เนื่องจากผิวหนังเป็นเกราะป้องกันการทะลุผ่านที่สําคัญ วิตามินเอที่ทาเฉพาะจุดจึงเข้าสู่ร่างกายได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น คณะกรรมการวิทยาศาสตร์ด้านความปลอดภัยของผู้บริโภคแห่งสหภาพยุโรป (SCCS) ได้ประเมินวิตามินเอและเอสเทอร์ เมื่อใช้เป็นส่วนประกอบของเครื่องสำอาง SCCS มีความเห็นว่าการใช้วิตามินเอในโลชั่นบำรุงผิวโดยมีความเข้มข้นเทียบเท่าเรตินอลไม่เกิน 0.05% นั้นมีความปลอดภัย Bio‑Oil® Skincare Oil มีวิตามินเอในสูตรที่ต่ำกว่าความเข้มข้นสูงสุดที่อนุญาตสำหรับโลชั่นบำรุงผิว และสามารถใช้งานได้อย่างปลอดภัยตลอดการตั้งครรภ์ ด้วยการผสมวิตามินเอในระดับต่ำ Bio‑Oil® Skincare Oil จึงช่วยให้หญิงตั้งครรภ์ได้รับประโยชน์จากวิตามินเอได้โดยไม่มีความเสี่ยงด้านความปลอดภัย น้ำมันจากโรสแมรี่และการตั้งครรภ์ น้ำมันจากโรสแมรี่ที่มีความเข้มข้นสูงพบว่าเป็นยาขับเลือด ซึ่งหมายความว่ามีความสามารถในการขับประจําเดือนและอาจก่อให้เกิดการคลอดก่อนกําหนด นี่คือเหตุผลที่นักบําบัดด้วยกลิ่นและนักบำบัดด้วยสมุนไพรที่ใช้น้ำมันจากโรสแมรี่ที่มีความเข้มข้นสูงไม่แนะนําให้ใช้น้ำมันจากโรสแมรี่ในระหว่างตั้งครรภ์ อย่างไรก็ตามความเข้มข้นของน้ำมันจากโรสแมรี่ใน Bio‑Oil® Skincare Oil นั้นต่ำมากและปลอดภัยที่จะใช้ในระหว่างตั้งครรภ์ การใช้ขณะให้นมบุตร Bio‑Oil® Skincare Oil มีความปลอดภัยต่อการใช้บนผิวกายขณะให้นมบุตร แต่ขอแนะนําให้หลีกเลี่ยงการทาบริเวณหัวนม แม้ว่าจะไม่มีแนวโน้มในการเกิดผลกระทบที่เป็นอันตราย แต่เด็กแรกเกิดมีความบอบบางมาก และไม่ควรได้รับ Bio‑Oil® Skincare Oil เข้าสู่ร่างกายแม้ในปริมาณที่น้อยมาก การใช้กับเด็กแรกเกิดและเด็กเล็ก ยังไม่มีการประเมินความปลอดภัยของการใช้ Bio‑Oil® Skincare Oil กับเด็กอายุต่ำกว่าสามปี ในช่วงสองสามปีแรกหลังคลอด การเปลี่ยนแปลงหลายอย่างเกิดขึ้นในร่างกายมนุษย์ ซึ่งรวมถึงการพัฒนาระบบภูมิคุ้มกัน ดังนั้นจึงแนะนำให้ใช้กับเด็กที่มีอายุสามปีหรือมากกว่าเท่านั้น ควรทาผลิตภัณฑ์ด้วยความระมัดระวังกับเด็กและไม่ควรใช้ใกล้ดวงตาหรือปาก การใช้ภายใต้แสงแดด การทดสอบของ Bio‑Oil® Skincare Oil แสดงให้เห็นว่าผลิตภัณฑ์นี้ไม่ได้ส่งเสริมหรือเพิ่มความรุนแรงให้ผิวไหม้แดด ดังนั้นจึงปลอดภัยที่จะใช้ภายใต้แสงแดด อย่างไรก็ตาม ผลิตภัณฑ์นี้ไม่ได้ช่วยป้องกันอันตรายจากรังสี UVA และ UVB จึงต้องใช้ผลิตภัณฑ์นี้ร่วมกับครีมกันแดดที่ป้องกันได้ทั้งรังสี UVA และ UVB รวมถึงมีค่าป้องกันแสงแดด (SPF) อย่างน้อย 30 การใช้ที่เยื่อเมือกหรือบริเวณใกล้เคียง Bio‑Oil® Skincare Oil ได้รับการจัดให้อยู่ในกลุ่มที่ปลอดภัยสำหรับการใช้งานทุกประเภท ยกเว้นการสัมผัสกับเยื่อเมือก การใช้ร่วมกับการฉายรังสีหรือเคมีบําบัด ถึงแม้ว่า Bio‑Oil® Skincare Oil จะไม่มีส่วนประกอบที่สามารถดูดซับรังสีได้ แต่ขอแนะนำให้ผู้ที่เข้ารับการรักษาด้วยรังสีหรือเคมีบำบัด ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ผลิตภัณฑ์ การใช้ร่วมกับเภสัชภัณฑ์ Bio‑Oil® Skincare Oil เป็นผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง คุณควรขอคำแนะนำจากแพทย์เกี่ยวกับการใช้ผลิตภัณฑ์ร่วมกับการใช้เภสัชภัณฑ์พร้อมกัน การใช้กับผิวแพ้ง่าย Bio‑Oil® Skincare Oil สามารถใช้กับผิวแพ้ง่ายได้ ในการศึกษาด้านการระคายเคืองผิวหนังที่ดำเนินการกับอาสาสมัครอายุ 18 - 65 ปี ที่มีผิวแพ้ง่ายจำนวน 25 คน พบว่าไม่มีอาสาสมัครรายใดที่ประสบอาการไม่พึงประสงค์จากผลิตภัณฑ์สูตรนี้ การใช้กับผิวมัน Bio‑Oil® Skincare Oil สามารถใช้กับผิวมันได้ ในการทดลองกับอาสาสมัครอายุ 18 - 65 ปี ซึ่งมีผิวที่เกิดสิวได้ง่ายจำนวน 20 คน พบว่า Bio‑Oil® Skincare Oil เป็นผลิตภัณฑ์ที่ไม่ก่อให้เกิดการอุดตัน การใช้กับผิวที่เกิดสิวได้ง่าย Bio‑Oil® Skincare Oil สามารถใช้กับผิวที่เกิดสิวได้ง่าย ในการทดลองกับอาสาสมัครอายุ 18 - 65 ปี ซึ่งมีผิวที่เกิดสิวได้ง่ายจำนวน 20 คน พบว่า Bio‑Oil® Skincare Oil เป็นผลิตภัณฑ์ที่ไม่ก่อให้เกิดการอุดตัน ในการศึกษาเกี่ยวกับรอยแผลเป็นจากสิวกับอาสาสมัครอายุ 14 - 30 ปี ที่มีรอยแผลเป็นจากสิวที่เพิ่มเกิดขึ้นใหม่บนผิวหน้าจำนวน 44 คน ผลการตรวจวัดสิวและการวัดไขมันแสดงให้เห็นว่าการใช้ Bio‑Oil® Skincare Oil ไม่ก่อให้เกิดสิวหรือเพิ่มการผลิตไขมัน อย่างไรก็ตาม ผู้ที่ประสบปัญหาจากสิวควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ Bio‑Oil® Skincare Oil


การก่อตัวของรอยแผลเป็น

รอยแผลเป็นคือการเพิ่มปริมาณคอลลาเจนซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในธรรมชาติของกระบวนการรักษาแผลหลังจากได้รับบาดเจ็บที่ผิวหนัง คอลลาเจนประกอบด้วยโปรตีนที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ซึ่งเป็นส่วนประกอบหลักของเนื้อเยื่อเกี่ยวพันของร่างกาย เมื่อได้รับบาดเจ็บที่ผิวหนัง ร่างกายจะทำการซ่อมแซมบริเวณที่ได้รับบาดเจ็บโดยเร็วที่สุด โดยมุ่งเน้นไปที่การอยู่รอดมากกว่าการรักษาที่สมบูรณ์แบบ การผลิตคอลลาเจนมากเกินไปอย่างรวดเร็วเพื่อตอบสนองต่อการบาดเจ็บคือสิ่งที่สร้างรอยแผลเป็นขึ้น แม้ว่ารอยแผลเป็นจะเกิดการเปลี่ยนแปลงมากมายเมื่อเวลาผ่านไป แต่รอยแผลเป็นจะไม่มีทางมีความแข็งแรงตามปกติเทียบเท่ากับผิวโดยรอบ รูขุมขนและต่อมเหงื่อบริเวณที่เกิดรอยแผลเป็นจะไม่เจริญกลับมา การก่อตัวของรอยแผลเป็นมีสี่ระยะดังต่อไปนี้ ระยะการหยุดเลือด ระยะนี้เริ่มต้นทันทีหลังจากได้รับบาดเจ็บและคงอยู่เป็นระยะเวลาสองสามชั่วโมง เนื่องจากบริเวณที่ได้รับบาดเจ็บพยายามฟื้นฟูสภาพปกติโดยการหดตัวของหลอดเลือดเพื่อหยุดเลือด ในขณะเดียวกัน เซลล์ที่ได้รับบาดเจ็บจะปล่อยโปรตีนบางชนิดออกมาเพื่อกระตุ้นการแข็งตัว ซึ่งจะช่วยปิดผนึกหลอดเลือดที่เสียหายและลดการสูญเสียเลือด ระยะที่มีการอักเสบ รอยแดงและการบวมที่ปรากฏออกมาเป็นระยะเวลาสามหรือสี่วันหลังจากการบาดเจ็บครั้งแรกเป็นตัวบ่งชี้ที่มองเห็นได้ของการตอบสนองของภูมิคุ้มกัน เซลล์เม็ดเลือดขาวปล่อยสารเคมีที่ทำความสะอาดแผลให้ปราศจากเศษสิ่งสกปรกและแบคทีเรีย ระยะกลไกการสร้างเนื้อเยื่อทดแทน ระยะนี้เริ่มต้นประมาณวันที่สามและดําเนินต่อไปประมาณสามสัปดาห์ มีกระบวนการที่แตกต่างกันสามกระบวนการเกิดขึ้นพร้อมกันในระยะนี้เพื่อปิดและประสานแผล ได้แก่ การสร้างเนื้อเยื่อใหม่: ไฟโบรบลาสต์ (เซลล์มีหน้าที่สังเคราะห์คอลลาเจน) จะเพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็วที่บริเวณแผลเพื่อสร้างคอลลาเจนมาเติมเต็มแผลอย่างรวดเร็ว การสร้างเนื้อเยื่อบุผิว: สร้างชั้นผิวหนังขึ้นเพื่อปิดแผล การหดตัวของแผล: แผลจะดึงเข้าด้วยกันเพื่อพยายามลดขนาดแผลลง ระยะปรับตัว ระยะ “การปรับสมดุลโครงสร้าง” นี้เริ่มต้นหลังจากผ่านไปประมาณสามสัปดาห์และอาจดําเนินต่อไปได้นานถึงสองปี ขึ้นอยู่กับขนาดและความลึกของแผล ในช่วงนี้ยังคงมีการสร้างคอลลาเจนต่อไปเนื่องจากเส้นใยได้รับการจัดเรียงใหม่ตามความเค้นที่เกิดขึ้นที่บริเวณที่ได้รับบาดเจ็บ ซึ่งเป็นตัวกําหนดลักษณะสุดท้ายของรอยแผลเป็น ในขณะที่รอยแผลเป็นปิดคลุมและปกป้องบริเวณแผล รอยแผลเป็นก็สามารถฉีกได้ง่าย เนื้อเยื่อแผลเป็นโดยทั่วไปมีความทนต่อแรงดึงที่ 70% ของผิวหนังปกติ


ประเภทของรอยแผลเป็น

เนื่องจากแต่ละคนมีการรักษาแผลที่แตกต่างกัน รูปลักษณ์สุดท้ายของรอยแผลเป็นจึงแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล ปัจจัยต่าง ๆ เช่น ประเภทของผิว ตำแหน่งรอยแผลเป็น ประเภทของการบาดเจ็บ อายุของบุคคล และแม้แต่ภาวะโภชนาการ ล้วนมีส่วนในการกำหนดรูปลักษณ์ของรอยแผลเป็น ประเภทรอยแผลเป็นสามารถแบ่งเป็นหมวดหมู่ได้ดังนี้ รอยแผลเป็นทั่วไป รอยแผลเป็นเหล่านี้จะดูบวมและมีสีเข้มในช่วงแรก แต่จะเรียบขึ้นและเห็นชัดน้อยลงเมื่อเวลาผ่านไป เกิดเป็นรอยแผลเป็นเส้นเล็ก ๆ รอยแผลเป็นชนิดหลุม รอยแผลเป็นเหล่านี้ทำให้เกิดการยุบตัวหรือรอยบุ๋มต่ำกว่าผิวนอกของผิวหนัง เช่น รอยแผลเป็นจากสิวหรืออีสุกอีใส รอยแผลเป็นชนิดนูน รอยแผลเป็นเหล่านี้นูนขึ้นเหนือผิวนอกของผิวหนัง โดยมีลักษณะเช่นนี้เนื่องจากคอลลาเจนที่มากเกินไป แต่ยังคงอยู่ในขอบเขตของแผลเดิม รอยแผลเป็นชนิดคีลอยด์ ไม่ควรสับสนระหว่างคีลอยด์กับรอยแผลเป็นชนิดนูน แม้ว่าคีลอยด์จะเป็นรอยแผลเป็นที่นูนขึ้นมาเหมือนกัน แต่อันที่จริงแล้วคีลอยด์มีลักษณะของการแผ่ขยายเกินขอบเขตของแผลเดิม รอยแผลเป็นนี้อาจยังคงขยายขนาดขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อเวลาผ่านไป และมักจะกลับมาเป็นซ้ำหลังจากที่ผ่าตัดออกไป รอยแผลเป็นดึงรั้ง รอยแผลเป็นชนิดดึงรั้งเกิดขึ้นเมื่อผิวหนังหดตัวอย่างถาวร รอยแผลเป็นชนิดนี้มักจะเกิดขึ้นเมื่อรอยแผลเป็นข้ามข้อต่อ หรือรอยย่นผิว และอยู่ในแนวมุมฉาก เนื้อเยื่อแผลเป็นนี้จะขัดขวางการยืดตัวและอาจยับยั้งการเคลื่อนไหวปกติได้ รอยแผลเป็นมักเกิดขึ้นหลังจากได้รับบาดเจ็บจากการเผาไหม้ รอยแตกลาย (ผิวแตกลาย) รอยแตกลายเกิดขึ้นในช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงน้ำหนักตัวอย่างรวดเร็ว (เช่น การเติบโตอย่างพุ่งพรวดของวัยรุ่น การตั้งครรภ์) เมื่อร่างกายขยายตัวเร็วกว่าผิวหนังที่ปกคลุม ทำให้เกิดการฉีกขาดภายในเนื้อเยื่อผิวหนัง เมื่อการฉีกขาดเหล่านี้ซ่อมแซมตัวเอง จะก่อให้เกิดรอยแผลเป็นที่เรียกว่ารอยแตกลาย


การก่อตัวของรอยแตกลาย

ในทางการแพทย์ รอยแตกลายหรือผิวแตกลายเป็นเพียงอีกรูปแบบหนึ่งของรอยแผลเป็น แต่คนส่วนใหญ่มองรอยแตกลายเหล่านี้เป็นคนละชนิดจากรอยแผลเป็น ผิวแตกลายคือเส้นบนผิวที่เกิดขึ้นในช่วงที่มีการขยายตัวอย่างรวดเร็วของผิว เช่น ในหญิงตั้งครรภ์ นักเพาะกาย และวัยรุ่นในช่วงที่มีการเจริญเติบโตอย่างพุ่งพรวด ซึ่งมีสาเหตุตรงตามที่ชื่อบอก นั่นคือ การยืด (Stretching) คนผิวสีอ่อนมีแนวโน้มที่จะเกิดรอยแตกลายสีชมพู ในขณะที่คนผิวคล้ำมีแนวโน้มที่จะมีรอยแตกลายที่มีสีอ่อนกว่าผิวโดยรอบ ผิวมีความยืดหยุ่นตามธรรมชาติ ซึ่งความยืดหยุ่นนี้เป็นผลจากคอลลาเจนและอีลาสตินในผิวหนังชั้นหนังแท้ ซึ่งอยู่ใต้เนื้อเยื่อผิว คอลลาเจนประกอบด้วยกลุ่มโปรตีนที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติและเป็นส่วนประกอบสำคัญของเนื้อเยื่อเกี่ยวพันของร่างกาย อีลาสตินซึ่งประกอบด้วยโปรตีนที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ยังพบได้ในเนื้อเยื่อเกี่ยวพันและช่วยมอบคุณสมบัติยืดหยุ่น เนื้อเยื่อเกี่ยวพันนี้ทำให้ผิวหนังชั้นหนังแท้ สามารถปรับตัวให้เข้ากับการเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่องของร่างกายโดยการขยายและหดตัว แต่ในช่วงที่มีการเพิ่มน้ำหนักตัวอย่างรวดเร็วอาจมีเวลาไม่เพียงพอในการปรับตัว ทำให้เกิดการฉีกขาดในเนื้อเยื่อผิวหนัง เมื่อการฉีกขาดเหล่านี้ซ่อมแซมตัวเอง จะก่อให้เกิดรอยแผลเป็นที่เราเรียกว่ารอยแตกลาย ยกตัวอย่างง่าย ๆ ก็เหมือนกับสปริงที่ยืดอยู่ หากคุณยืดสปริงในระยะหนึ่งที่เรียกว่า ขีดจำกัดความยืดหยุ่นตามธรรมชาติ สปริงจะหดตัวกลับไปมีขนาดเท่าเดิมทุกครั้ง อย่างไรก็ตาม หากคุณยืดสปริงเกินขีดจำกัดความยืดหยุ่นตามธรรมชาติ สปริงจะยืดถาวรและจะไม่หดตัวกลับไปมีขนาดเท่าเดิม แม้ว่ารอยแตกลายไม่ได้เป็นปัญหาทางการแพทย์ที่สำคัญ แต่อาจทำให้เกิดความตึงเครียดทางอารมณ์แก่ผู้ที่มีรอยแตกลายได้ โอกาสเกิดรอยแตกลายเหล่านี้จะแตกต่างกันไปตามประเภทของผิว อายุ การถ่ายทอดทางพันธุกรรม อาหาร และความชุ่มชื้นของผิว ระยะของการก่อตัวของรอยแตกลายมีดังนี้ ระยะที่หนึ่ง รอยแตกลายระยะแรกจะมีสีซีดและอาจมีอาการคัน ผิวโดยรอบที่อยู่ติดกับรอยแตกลายอาจดู “แบนราบ” และ “บาง” ระยะที่สอง รอยแตกลายจะค่อย ๆ ยาวขึ้นและกว้างขึ้น รวมถึงมีสีเข้มและเด่นชัดมากขึ้น ระยะที่สาม เมื่อรอยแตกลายมีการเปลี่ยนแปลงเต็มที่และเมื่อผิวไม่ได้ตกอยู่ใต้แรงตึง รอยแตกลายเหล่านี้จะเริ่มจางและมีสีซีด โดยอาจยังดูยุบตัวเล็กน้อยและมีรูปร่างหรือความยาวที่ไม่สม่ำเสมอ


การก่อตัวของรอยแตกลายจากการตั้งครรภ์

คาดว่า 50% ถึง 90% ของหญิงตั้งครรภ์มีแนวโน้มที่จะเกิดรอยแตกลาย รอยแตกลายสามารถเกิดขึ้นได้บนหน้าท้อง ต้นขา สะโพก หลังส่วนล่าง ก้นและหน้าอก ซึ่งเป็นพื้นที่ผิวหนังที่มีการยืดมากที่สุดในขณะที่ร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงในระหว่างตั้งครรภ์ แม้ว่ารอยแตกลายจะสามารถปรากฏได้ทุกที่บนร่างกาย แต่ก็มักจะปรากฏในตำแหน่งที่มีไขมันสะสมจำนวนมาก แม้ว่าโดยทั่วไปแล้วรอยแตกลายจะปรากฏในช่วงไตรมาสหลัง ๆ ของการตั้งครรภ์ (ประมาณเดือนที่หกหรือเจ็ด) แต่ผู้หญิงบางคนก็เริ่มเห็นรอยแตกลายขึ้นตั้งแต่ในไตรมาสแรก รอยแตกลายจากการตั้งครรภ์อาจเป็นผลมาจากการเตรียมผิวให้พร้อมสำหรับการคลอดบุตรโดยการเพิ่มระดับฮอร์โมน ฮอร์โมนเหล่านี้ดึงดูดน้ำเข้าสู่ผิวมากขึ้น ซึ่งทำให้พันธะระหว่างเส้นใยคอลลาเจนคลายตัว จึงทำให้ผิวฉีกขาดได้ง่ายขึ้นเมื่อยืดออกและทำให้เกิดรอยแตกลายขึ้น ความเป็นไปได้ที่จะเกิดรอยแตกลายจะแตกต่างกันไปตามประเภทของผิว อายุ การถ่ายทอดทางพันธุกรรม อาหาร และความชุ่มชื้นของผิว


การผลิต

การผลิต Bio‑Oil® Skincare Oil เป็นไปตามข้อกำหนดของหลักเกณฑ์และวิธีการที่ดีในการผลิต (GMP) ตามมาตรฐาน ISO 22716:2007 สำหรับผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง วัตถุดิบทั้งหมดที่ใช้ในการผลิต Bio‑Oil® Skincare Oil มาพร้อมกับใบรับรองการวิเคราะห์ (COA) และวัสดุบรรจุภัณฑ์ทั้งหมดจะมาพร้อมกับใบรับรองผลิตภัณฑ์ตามมาตรฐาน (COC) ไม่มีการนำวัตถุดิบหรือวัสดุบรรจุภัณฑ์เข้าสู่การผลิตจนกว่าจะผ่านการทดสอบการควบคุมคุณภาพ Bio‑Oil® Skincare Oil ทุกชุดได้รับการจัดสรรหมายเลขชุดที่ไม่ซ้ำกัน ตัวอย่างจากชุดผลิตภัณฑ์ได้รับการทดสอบโดยห้องปฏิบัติการเพื่อดูลักษณะภายนอก ความใส กลิ่น การระบุโดยใช้เครื่อง Spectrophotometry ความหนาแน่น ความหนืด และคุณสมบัติทางจุลชีววิทยา ตัวอย่างจะเก็บไว้เป็นเวลาหกปี การบรรจุภาชนะและบรรจุหีบห่อของ Bio‑Oil® Skincare Oil ดำเนินการในโรงงานที่ควบคุมอุณหภูมิและความชื้น อากาศผ่านระบบกรองฝุ่นละอองประสิทธิภาพสูง (HEPA) เพื่อป้องกันการปนเปื้อนฝุ่น พนักงานที่ทำงานในสายการผลิตมีการสวมหมวก หน้ากากอนามัย หน้ากากป้องกันใบหน้า ถุงมือ เสื้อคลุม และถุงคลุมรองเท้า ตัวอย่างจะนำออกจากสายการผลิตเป็นระยะ ๆ และได้รับการตรวจสอบโดยฝ่ายควบคุมคุณภาพ เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดข้อบกพร่องพิเศษ หมายเลขชุดจะพิมพ์ลงบนขวด กล่องกระดาษ และผู้ขนส่ง นอกจากนี้ตัวอย่างการเก็บรักษาจากชุดการผลิตแต่ละชุดจะเก็บไว้เป็นเวลาหกปี กระบวนการผลิต Bio‑Oil® Skincare Oil ไม่มีการปล่อยมลพิษ ของเสียอันตราย หรือน้ำเสีย


คำแนะนำในการเก็บรักษา

Bio‑Oil® Skincare Oil ควรเก็บไว้ในที่เย็นและหลีกเลี่ยงการสัมผัสแสงแดดโดยตรง


การรีไซเคิล

บรรจุภัณฑ์ Bio‑Oil® Skincare Oil ทั้งหมด (ขวด ปลั๊ก ฝาปิด และกล่องกระดาษ) สามารถรีไซเคิลได้


อายุของผลิตภัณฑ์หลังเปิดใช้ครั้งแรก (PAO)

Bio‑Oil® Skincare Oil มีอายุ 36 เดือน นี่คืออายุของผลิตภัณฑ์หลังเปิดใช้ครั้งแรกที่มีความปลอดภัย และสามารถใช้งานได้โดยไม่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค


การรับรอง

Bio‑Oil® Skincare Oil ได้รับการรับรองมาตรฐานฮาลาลและโคเชอร์


อาการไม่พึงประสงค์

แม้ว่า Bio‑Oil® Skincare Oil จะมีประวัติทางพิษวิทยาที่ปลอดภัยและเป็นไปตามกฎระเบียบสากลในเรื่องนี้ แต่ผู้ใช้ Bio‑Oil® Skincare Oil ก็อาจพบอาการไม่พึงประสงค์เมื่อใช้ผลิตภัณฑ์ เช่นเดียวกับที่พบในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางทุกชนิด หากมีอาการไม่พึงประสงค์เกิดขึ้น ควรหยุดใช้ผลิตภัณฑ์ทันที อาการไม่พึงประสงค์ที่ผิวหนังอาจรวมถึงผื่น การบวม และการอักเสบ ซึ่งมักเกิดขึ้นในบริเวณที่ทาผลิตภัณฑ์ อาการเหล่านี้อาจมาพร้อมกับอาการคันและความรู้สึกไม่สบายตัวเล็กน้อย ในกรณีส่วนใหญ่ อาการไม่พึงประสงค์จะทุเลาภายในสองถึงสามวันหลังจากหยุดใช้ผลิตภัณฑ์ จนกว่าจะกลับสู่สภาพเดิม ผิวหนังอาจดูแห้งและเป็นสะเก็ดเมื่ออาการทุเลาลง หากมีข้อกังวลเกี่ยวกับอาการแพ้ที่อาจเกิดขึ้นจากการทา Bio‑Oil® Skincare Oil ควรทดสอบการแพ้อย่างง่ายเพื่อตรวจสอบเรื่องนี้ ซึ่งทำโดยการทาผลิตภัณฑ์ปริมาณเล็กน้อยที่ท้องแขนด้านใน และรอเป็นระยะเวลา 24 ชั่วโมงเพื่อดูว่ามีปฏิกิริยาใด ๆ เกิดขึ้นหรือไม่ ผิวเป็นผื่นแดง (ลักษณะผิวหนังแดง) ที่สังเกตเห็นได้หรืออาการบวมเล็กน้อยของผิว (บวมน้ำ) อาจบ่งบอกถึงโอกาสในการเกิดอาการแพ้


ไม่มีการทดลองกับสัตว์

Bio‑Oil® Skincare Oil และวัตถุดิบที่เป็นส่วนประกอบผลิตขึ้นตามข้อกำหนดของสหภาพยุโรปเกี่ยวกับการทดลองกับสัตว์เพื่อวัตถุประสงค์ด้านเครื่องสำอาง ไม่มีการนำ Bio‑Oil® Skincare Oil และส่วนประกอบใด ๆ ไปทดลองกับสัตว์ ไม่ว่าจะเป็นโดย Bio‑Oil หรือผู้จัดหาวัตถุดิบรายใด


วีแกน

Bio‑Oil® Skincare Oil ไม่มีส่วนผสมที่มาจากสัตว์


การกลืนกินโดยไม่ได้ตั้งใจ

ในกรณีที่มีการกลืนกิน Bio‑Oil® Skincare Oil โดยไม่ตั้งใจ มีความเป็นไปได้น้อยที่จะเกิดอาการไม่พึงประสงค์อื่นใดนอกเหนือจากอาการคลื่นไส้และท้องเสีย เนื่องจาก Bio‑Oil® Skincare Oil ไม่มีพิษ อย่างไรก็ตาม ขอแนะนำให้ปรึกษาแพทย์โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่ทารกหรือเด็กกลืนกินโดยไม่ได้ตั้งใจ


การเปลี่ยนแปลงลักษณะภายนอก

Bio‑Oil® Skincare Oil ประกอบด้วยสารสกัดคาเลนดูล่า คาโมไมล์ ลาเวนเดอร์ และโรสแมรี่ รวมถึงน้ำมันหอมระเหย ตลอดจนวิตามินเอ ซึ่งทั้งหมดมีความไวต่อแสง การสัมผัสกับแสงแดดอาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสีเมื่อเวลาผ่านไป อย่างไรก็ตาม มีความเป็นไปได้น้อยที่จะส่งผลต่อประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ ดังนั้น ขวด Bio‑Oil® Skincare Oil จึงมีสารดูดซับรังสียูวีเพื่อเป็นการป้องกันเบื้องต้น ทั้งนี้ ควรเก็บผลิตภัณฑ์ให้พ้นจากการสัมผัสแสงแดดโดยตรง


วันที่ปรับปรุงล่าสุด

22 สิงหาคม 2023